วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทความเรื่อง การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ*
กระบวนการศึกษาในการสร้างบุคลากรจะต้องประกอบด้วย สถานศึกษาที่มีคุณภาพ
ซึ่งเต็มไปด้วยครู อาจารย์ที่มีคุณภาพเช่นกัน รวมทั้งการสนับสนุนของภาครัฐ แต่ที่สำคัญที่สุดคือทุกคนในประเทศที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษาจะต้องเน้นให้บุคคลเกิดการคิดที่เป็นการคิดให้เป็น ซึ่งประชากรไทยยังขาดการคิดเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมกำลังปัญญาของชาติเพื่อนำมาพัฒนาประเทศหรือการที่จะมีบุคคลมาสร้างชาตินั่นเอง กำลังปัญญา หมายถึง คุณภาพของกำลังคนอันเป็นแรงงาน ตลอดจนศักยภาพในการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังปัญญาของประเทศไทย ระดับการศึกษาของแรงงานไทยยังอยู่แค่ระดับประถมต้น
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากความหมายจะเห็นว่าการศึกษาจะช่วยสร้างคนหรือบุคคลให้เจริญงอกงามและส่งผลต่อสังคมในฐานะที่แต่ละบุคคลมาอยู่รวมกันเป็นสังคมก็ตรงกับประโยคที่ว่า “ การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ “ ดังนั้นบทความนี้จึงขอเสนอกระบวนการที่การศึกษาสร้างคน และกระบวนการสร้างชาติ
กระบวนการของการศึกษาที่สร้างคนที่สำคัญคือ สถานศึกษา สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา (มาตรา 4 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ) สำหรับสถานศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยควรมีบทบาทและภารกิจ ดังนี้ 1. การเป็นสถาบันสร้าง รวบรวมและประยุกต์องค์ความรู้ทางวิฃาการมากกว่าการเป็นสถาบันสอนนิสิต/นักศึกษาเพียงอย่างเดียว 2. การเป็นผู้นำแห่งสำนึกสาธารณะของสังคม (ไท วังจันทร์, หน้า 3-4) ซึ่งบทบาทของมหาวิทยาลัยก็เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพมารับใช้สังคม เป้าหมายของการศึกษาในปัจจุบันไม่ได้จบอยู่ที่คน ๆ หนึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่งสูงสุดแล้วในกระบวนการการศึกษา แต่หมายถึงการศึกษาตลอดชีวิตเพราะการศึกษาสร้างคนให้รู้จักคิด ทำและเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและสังคม บุคคลที่การศึกษาสร้างควรมีลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับศตวรรษนี้ ควรพร้อมด้วยความคิด 10 มิติ อันประกอบด้วย การคิดเชิงวิทยาการ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเขิงประยุกต์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หน้า XI) ดังนั้นกระบวนการศึกษาสร้างคนในยุคปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย สถาบันการศึกษาต้องตระหนักและให้ความสำคัญเพราะการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดที่มีศีลธรรม จริยธรรม มีความคำนึงถึงส่วนรวมหรือสังคมแล้วจะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ปัญหาของการศึกษาอยู่ที่การไม่สามารถทำให้คนคิดเป็น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หน้า 54) ซึ่งท่านได้เสนอวิธีการส่งเสริมให้คนคิดเป็น คือ สนับสนุนเอกชนตั้งโรงเรียนนักคิด เช่น การคิดสำหรับนักสื่อสารมวลชน การคิดสำหรับนักบริหาร หารคิดสำหรับข้าราชการ การคิดสำหรับพ่อแม่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น